Happy Cute Box Bear

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557



นิทรรศการสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
จัดทำนิทรรศการโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 
คณะศึกษาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย 
มหาวิทยาลัยราชฏจันทรเกษม























 









ค้นหาบทความงานวิจัยและวิทยานิพนธ์

ค้นหาบทความงานวิจัยและวิทยานิพนธ์



งานวิจัยที่ 1

การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่องหน่วยเที่ยวสวนสะออน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นงลักษณ์ กันปัญญา
ที่มา:http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full111/nongluk10903/titlepage.pdf




งานวิจัยที่ 2

ผลการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียเรื่องธรรมชาติรอบตัวของนักเรียนระดับชึ้นอนุบาล 2 / วิทยานิพนธ์ ของ นิโรบล จันทะกล
ที่มา:http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full122/nirobol11995/titlepage.pdf





งานวิจัยที่ 3  
การใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอนกิจกรรมในวงกลมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาล 1

http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=4694





งานวิจัยที่ 4  
การใช้ชุดสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กดาวน์ซินโดมระดับปฐมวัย
http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=16093&word=%CA%D7%E8%CD%A1%D2%C3%CA%CD%B9&check_field=_All_&select_study=&condition=2&search=9&philosophy=&master=





งานวิจัยที่ 5  
การศึกษาผลของการจัดประสบการณ์การเล่านิทานโดยใช้กิจกรรมศิลปะและการเล่านิทานโดยใช้ภาพประกอบที่มีต่อความสร้างสรรค์และความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย (

แหล่งที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000004298





5.สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด


สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
พัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด

โดย: ดร. สิทธิพร เอี่ยมเสน
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


เพียงแค่ธรรมชาติที่อยู่รอบๆบ้านเรา 
ก็มีสิ่งยั่วยวนใจให้เด็กได้เรียนรู้มากเหลือเกิน 
ใบไม้ใบหญ้าที่แกว่งไกวหรือหลุดปลิวไปเพราะแรงลม 
การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของมด กลุ่มชีวิตที่อยู่ใต้พื้นดิน 
สำหรับเด็กๆ แล้ว สนามธรรมชาติรอบล้อมบ้าน 
เป็นโลกแห่งกิจกรรม เป็นบทเรียนวิทยาศาสตร์ 
บทเรียนวิชาฟิสิกส์ และวิชาธรรมชาติและสีสัน 
(Hirsh-Pasek and Golinkoff, 2003)


        ในตอนวัยเด็ก นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน และช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ แล้ว พวกเราเด็กๆ ก็มักจะมีเวลาว่างมากเพียงพอที่จะสำรวจธรรมชาติที่อยู่รอบๆ บ้าน หรือบริเวณหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าหญ้าคา และ อื่นๆ เราสนุกสนานกับการที่ได้ปีนป่ายต้นไม้ใหญ่ นั่งเล่นอยู่บนต้นไม้นั้นเป็นเวลานานๆ ได้เห็นความเป็นอยู่ของเหล่านกใหญ่น้อยทั้งหลาย ที่อาศัยกิ่งก้านสาขาของไม้ใหญ่นี้เป็นที่กำบังจากภัยต่างๆ บ้างก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่นี้ หลายครั้งที่พวกเราก็แกล้งมัน พอพวกเราส่งเสียงดัง หรือขว้างปาวัตถุเข้าไปใส่ต้นไม้ ฝูงนกก็แตกฮือบินหนีไปคนละทิศคนละทางด้วยความตกใจ แต่พวกเรากลับหัวเราะอย่างสนุกสนาน บางครั้งเราก็ปีนต้นไม้เพื่อที่จะไปให้ถึงรังของนก เราอยากจะเห็นบ้านที่อยู่ของนก อยากจะเห็นไข่ หรือลูกเล็กๆ ของมัน ในขณะที่เราใกล้จะถึง เราจะได้ยินเสียงพ่อ แม่ของลูกนกส่งเสียงร้องอย่างดัง ราวกับจะบอกให้เรารู้ว่า อย่าเข้าใกล้หรือทำอันตรายสิ่งที่เขารักและห่วงแหนมากที่สุด

ในทุ่งนาที่เราเดินหรือบางครั้งก็วิ่งผ่าน เราก็จะเห็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด เช่น หนู มด บางครั้งเราก็เห็น คราบของงู เรามองเห็นการทำงานของมด เห็นการหาอาหารของบรรดาแมลงต่าง ๆ เห็นผีเสื้อ แมลงตัวเล็ก และ ผึ้ง ที่มาดอมดมน้ำหวานในดอกไม้ บางครั้งเราก็ไปเด็ดดอกไม้เหล่านั้น เพื่อเปิดหาน้ำหวานในดอกไม้นั้น พวกเราก็พบว่า ในดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เราเด็ดมามีน้ำหวานอยู่จริง พวกเราสนุกสนานกับการได้ลิ้มรสความหวานของน้ำใสๆ ในดอกไม้นั้น ตัวผมเองไม่เคยสงสัย แต่กลับรู้สึกคุ้นเคย เวลาคุณครูวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอธิบายถึงส่วนประกอบของดอกไม้ หรือการขยายพันธุ์ของต้นไม้ หรือในข้อสอบที่ถามถึงรั้วกินได้ และประโยชน์หรือลักษณะการใช้งานของเครื่องมือที่ใช้ในการทำสวนครัว ผมได้เรียนแล้วผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้ากับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

เวลาที่ผมวิ่งไปหาพ่อแม่ ที่เกี่ยวข้าวอยู่กลางทุ่ง พ่อก็จะใช้เคียวที่พ่อใช้เกี่ยวข้าว ตัดต้นข้าว แล้วทำเป็นปี่ผมเป่าเล่น พวกเราเด็ก ๆ ก็เป่าให้มีเสียงดังต่างๆ กันเป็นที่สนุกสนาน ผมไห้พ่อเจาะรูเพิ่มเพื่อให้ปี่ต้นข้าวของผมทำได้มากกว่าหนึ่งเสียง และแกล้งทำเป็นว่าเรากำลังบรรเลงดนตรีที่แสนไพเราะ ด้วยเครื่องดนตรีสากลที่เรียกว่า คาริเน็ต เราได้เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรมากมาย เราได้พัฒนาส่วนต่างๆ ของร่างกาย พัฒนาจิตใจ อารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เรียนรู้วัฒนธรรมของบุคคลและสังคม ได้สื่อสารโดยกระบวนการของภาษา โดยที่ไม่มีทฤษฎีการเรียนรู้ได ๆ มาบอกเรา หรือบอกพ่อแม่ของเราเลย

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้ประโยชน์อย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก

เมื่อพิจารณาถึงผลระยะยาวที่มีต่อเด็ก ทางด้านสุขภาพทางอารมณ์ที่ดี สุขภาพกายที่ดี
ความสามารถในการเรียน และความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมแล้ว
เราไม่ควรที่จะให้เด็กใช้เวลาส่วนมากอยู่แต่ในห้องเรียนหรือในบ้าน
เด็กจะมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้านเพียงขอให้เราสนับสนุนให้เด็กได้มีเวลาให้กับธรรมชาติ
(Green Hours) ให้มากในแต่ละวัน (Washington Post, June, 2007)

นักการศึกษาและนักวิจัยที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเด็ก และพัฒนาการของเด็กได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับสื่อที่อยู่ล้อมรอบตัวเด็ก อันได้แก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Stephen Kellert, 2005 in Children&Nature Network, 2008) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Yale ได้กล่าวว่า การที่สภาพแวดล้อมของบ้านที่เป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จะส่งผลที่ดีกับเด็กในการพัฒนาสมอง ความคิด รวมถึง การพัฒนาศักยภาพในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล ซึ่งเป็นการพัฒนาการของสมองขั้นสูง นอกจากนี้ ในบทความเดียวกัน ยังเพิ่มเติมถึงประโยชน์ของการที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกด้วยว่า เด็กๆ จะมีร่างกายที่สมบูรณ์ และกระตือรือร้น ไม่เป็นโรคอ้วน ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

ในส่วนของการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก วิธี การสอนแบบเก่าที่เรียกว่า Chalk – and – Talk ได้ถูกลืมเลือนไปในภาคส่วนการศึกษา ครูในยุคปัจจุบัน ได้รับการเสริมสร้างให้มีความรู้ในเรื่องสื่อนวัตกรรมการสอนที่ส่งผลโดยตรงให้ กระบวนการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ( Singh, 2007) แต่เมื่อพูดถึงสื่อนวัตกรรมการสอน คนโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า หมายถึง เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Information Communication Technologies (ICT)) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในประเทศที่ได้รับการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนา กลับมาให้ความสนใจในนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีต้นทุนต่ำ (Low-Cost Teaching Aids) หรือไม่ต้องลงทุนและหาได้ในท้องถิ่น สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนเหล่านี้ ผลิตได้อย่างง่ายๆ จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น หรือ หยิบใช้ได้โดยตรงจากธรรมชาติรอบๆ ตัว และยังทำให้เป็นโรงเรียนที่พึ่งตนเองได้ ลดค่าใช้จ่ายทางด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน การเลือกสรร การให้ความสนใจกับชุมชนและการนำธรรมชาติไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน จะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย ความน่าสนใจ และเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับโรงเรียนในท้องถิ่นนั้นๆ

ต้นกล้วยน้ำหว้าต้นหนึ่ง ไม่ใช่ให้เพียงผลกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการกับทุกคนเท่านั้น
การเกิด เจริญเติบโต ให้ผล และตายไปของต้นกล้วยต้นหนึ่ง
ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วงจรชีวิตของมัน เด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต
เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง จดบันทึก เรียนรู้ที่จะรักธรรมชาติ
เด็กบางคนนำก้านกล้วยมาประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วย วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน
เรือใบที่ได้รับการสร้างสรรค์จากกาบกล้วย ถึงแม้จะดูไม่มีมาตรฐานนัก
แต่ก็ให้ความสุขในจิตใจของเด็กๆ เหล่านั้น
ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์และจิตใจ ได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กับร่างกาย
โดยที่ตัวเด็กๆ เอง อาจจะไม่ได้คิดถึงสิ่งดีๆเหล่านี้ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองด้วยซ้ำไป

ธรรมชาติล้อมรอบตัวเด็กนั้น จัดได้ว่าเป็นการขยายห้องเรียนให้กับนักเรียนของเรา นักเรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสในทุกๆ ด้าน และครอบคลุมทุกๆ แขนงของหลักสูตร ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็ก ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ล้วนเป็นบทเรียนและแบบฝึกหัดที่มีประโยชน์โดยตรงต่อทั้งตัวเด็ก และครูผู้สอน (http://www.workingwithwildlife.co.uk/learning/default.asp) เด็กนักเรียนในระดับปฐมวัยสามารถใช้เวลานอกห้องเรียนในการเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียนและชุมชน ได้ถึง ๑ ใน ๔ ของเวลาที่ต้องใช้ที่โรงเรียน นอกจากนักเรียนจะได้ความรู้จากหลากหลายกิจกรรมที่ครูสามารถให้นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมแล้ว กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้สึกรัก รับผิดชอบและเป็นเจ้าของธรรมชาตินั้นๆ เป็นการพัฒนาในระดับปัจเจกบุคคล ที่มีผลต่อการพัฒนาในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับโลก ต่อไป และยังส่งผลในเรื่องสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนอีกด้วย เด็กได้พัฒนาและเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีพของตนเองไปตลอดชีวิต (Life-Long Skills) เช่น การปลูกและทำนุบำรุงรักษาต้นไม้ การปลูกดอกไม้ ผัก และผลไม้ต่าง ๆ เด็กได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ใช้ภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่ม พัฒนาความเชื่อมั่น และความศรัทธาในตนเอง

จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของบ้าน โรงเรียน หรือชุมชน งานสร้างสรรค์ของเด็กจะแตกต่างจากงานของผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในความเป็นมืออาชีพ แต่เด็กจะได้รับการพัฒนาในด้านจินตนาการ และการมีส่วนร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของตัวเขา (White & Vicki, online) ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทั่วประเทศในประเทศHolland พบว่า คนที่อยู่ในบริเวณหรือห่างจากพื้นที่สีเขียว ประมาณ ๑ ถึง ๓ กิโลเมตร มีสุขภาพที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณดังกล่าว (Haas et al., 2006 in Children&Nature Network, online) ต้นไม้และธรรมชาติสีเขียวมีผลในการลดความเครียดของกลุ่มเด็กที่มีความเครียดสูง และผลดีที่สุดจะมีความสัมพันธ์กับจำนวนพืชสีเขียว พื้นที่สีเขียว และการได้เล่นกับธรรมชาติ ประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติจากการได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมจะหล่อหลอมสติปัญญาและทักษะ ที่เป็นที่ยอมรับในหลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่ว่า เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดโดยผ่านกระบวนการเล่นและการค้นพบอย่างเสรี (Hughes, 1991) การเล่นอย่างเสรีกับธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์และน่าดึงดูดใจสำหรับเด็ก เด็กเกิดจินตนาการ ความอยากรู้อยากเห็น การเล่นที่มีคุณภาพนั้นจะพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งร่างกาย การรับความรู้สึก อารมณ์ สติปัญญา และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Haas, 1996)

เกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ๆ ในทุกวันนี้
ในอดีตเด็กๆ เคยได้รับความสุขสนุกสนานกับการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสกับธรรมชาติมากกว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินบนทางเดินเท้า ถนนหนทาง พื้นที่ว่าง สวนสาธารณะ ทุ่งนา ป่าเขา ลำธาร พวกเขาเคยได้สำรวจ เคยเล่น และสัมผัสกับโลกธรรมชาติ โดยปราศจากข้อห้ามหรือการตรวจสอบใดๆ หรือจะมีบ้างก็เพียงเล็กน้อย แต่เด็กๆ ในปัจจุบัน แทบจะไม่มีโอกาสเช่นนั้นเลย โดยเฉพาะเด็กๆ ในชุมชนเมือง การเล่นกับธรรมชาติอย่างเสรี จะมีแต่ข้อห้าม หรือมีโอกาสก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขอบเขตการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถูกจำกัดและลดลง (Francis, 1991) จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า จากผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ ๙๔ กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญในการที่จะอนุญาตให้เด็ก ๆ ออกเล่นนอกบ้านได้อย่างเสรี (Bagley, Ball and Salmon, 2006 in Children&Nature Network, 2008) เช่นเดียวกันกับนักวิจัย ของมหาวิทยาลัย Hofstra ที่สอบถามคุณแม่ จำนวน ๘๐๐ คน ร้อยละ ๘๒ ไม่อนุญาตให้ลูกๆ เล่นนอกบ้านเนื่องจากความกังวลเรื่องอาชญากรรม และ ความปลอดภัย (Clements, 2004 in Children&Nature Network, 2008)

เด็กเล่นน้ำตามลำคลองอย่างสนุกสนาน เรียนรู้ที่จะว่ายน้ำเพื่อการเอาตัวรอด ว่ายน้ำเป็นโดยที่ไม่ต้องเสียสตางค์ไปเรียนที่โรงเรียนสอนว่ายน้ำ เด็กหลายคนในทุกวันนี้ว่ายน้ำไม่เป็น หลายคนไม่เคยเห็นทะเล หลายคนไม่เคยขึ้นภูเขา ไม่รู้ว่าหน่อไม้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร หลายคนกลัวป่า กลัวต้นไม้ หลายคนเดินได้เพียงไม่กี่ร้อยเมตรก็เหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อไปได้ มันเกิดอะไรขึ้นกับเด็กเหล่านี้ Hofstra University ได้สำรวจคุณแม่ ๘๐๐ คน ที่มีลูกอายุระหว่าง ๓ ถึง ๑๒ ปี พบว่า คุณแม่ร้อยละ ๘๕ ยอมรับว่าเด็กเล่นนอกบ้านน้อยลงกว่าแต่ก่อน และคุณแม่ร้อยละ ๗๐ เล่นนอกบ้านทุกวันเมื่อตอนเป็นเด็ก แต่เพียงร้อยละ ๓๑ ของเด็กในปัจจุบันเท่านั้นที่เล่นนอกบ้านอยู่เป็นประจำ (Clements, 2004 in Children&Nature Network) ความไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อถูกปล่อยอยู่ตามลำพังเพื่อการเล่นกับธรรมชาติอย่างเสรี ความที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพ่อแม่ และการเพิ่มขึ้นของสื่อเทคโนโลยี เช่น การดูโทรทัศน์และการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ มีส่วนทำให้การเล่นกับธรรมชาติของเด็กลดลงหรือหายไป เช่น เด็กอายุ ๘ ขวบกลุ่มหนึ่งสามารถบอกลักษณะของ Pokemon ได้มากกว่าพันธุ์ของสัตว์ป่าถึง ร้อยละ ๒๕ (Balmfold, Clegg, Coulson and Taylor, 2002 in Children&Nature Network, 2008) จากการสำรวจของ Kaiser Family Foundation ในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ถึง ๒๐๐๖ พบว่า เด็กอายุระหว่าง ๖ เดือนถึง ๖ ปี ใช้เวลากับสื่อทางอีเลกโทรนิค เฉลี่ยวันละ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ในขณะที่เด็กอายุระหว่าง ๘ ปี ถึง ๑๘ ใช้เวลาในเรื่องเดียวกันนี้ถึงเฉลี่ยวันละ ๖ ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งมากกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (Children&Nature Network, 2008 online)

เหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก ทั้งเรื่องสุขภาพกายและจิตใจที่แย่ลง พัฒนาการด้านอื่นๆ ก็ไม่ได้รับการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็นของเด็ก เรากำลังจะปลูกไม้พันธุ์ใหญ่ลงในกระถางที่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งผลที่ได้มาก็อาจจะดูสวยและ แปลกตา อาจเป็นที่นิยม นั่นก็เพราะ มันเป็นเพียงต้นไม้

เราจะช่วยเด็กกันได้อย่างไร
เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้าน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เราก็ควรที่จะดำเนินการใดๆ ที่ จะก่อให้เกิดผลดังกล่าว ในต่างประเทศ มีองค์กรเครือข่ายที่ใช้ชื่อว่า The Children & Nature Network (C&NN) ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับธรรมชาติ ให้ข้อมูล ข่าวสารและรายงานผลการวิจัย เพื่อกระตุ้นและสนับสนุน พร้อมทั้งเป็นเครือข่าย ให้ประชาชนและองค์กรต่างๆ พัฒนากิจกรรมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ นอกจากนั้น ยังได้ทำงานร่วมกับนักวิจัย นักการศึกษา และองค์กรอื่นๆ ที่อุทิศตนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

C&NN ได้ริเริ่มโครงการระดับชาติที่มีชื่อว่า "Leave No Child Inside" ที่มุ่งเน้นให้ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนและผู้ปกครองได้ตระหนักและใช้ธรรมชาติเป็นสื่อให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง สื่อธรรมชาติเหล่านี้หาได้ในทุกๆ พื้นที่ ไม่ต้องลงทุน สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น และมีให้ได้ใช้ในทุก ๆ โอกาส ทุกโรงเรียนควรจัดให้มีธรรมชาติในบริเวณโรงเรียน หรืออาศัยธรรมชาติจากชุมชน การจัดธรรมชาติควรให้เด็กได้มีส่วนร่วม ให้เด็กได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น ได้ลงมือปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับธรรมชาติอย่างเสรีมากขึ้น ภายใต้ สถานการณ์ที่ปลอดภัย

วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันล้วนมีผลกระทบต่อเด็กๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านจิตใจ อิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีที่ยากแก่การควบคุม อันมีผลมาจากการแข่งขัน ความต้องการให้เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน และผลกำไรที่จะตามมา สื่อดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ มีอยู่และหาได้ในแทบจะทุกครัวเรือน พ่อแม่ของเด็กหลายต่อหลายคนได้ใช้สื่อนี้เป็นพี่เลี้ยงและสอนลูกของตนเองอยู่วันละเป็นเวลานานๆ การเพิ่มขึ้นของการบ้านที่เด็กได้มาจากโรงเรียน ความไม่ปลอดภัยของชีวิตภายนอกบ้าน และการดำเนินชีวิตของคนบางตนได้เปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการเด็กอันเป็นผลเนื่องมาจากการได้สัมผัสธรรมชาติ อย่างไรก็ตามหากเราหาทางป้องกัน และเปิดช่องทางธรรมชาติให้กว้างขึ้น เพื่อที่เด็กๆ จะได้เดินไปสัมผัสได้ง่ายและสะดวกขึ้น จะช่วยให้ธรรมชาติเป็นสื่อที่จะพัฒนาเด็กให้มีความรู้ มีจิตใจอ่อนโยน ก่อให้เกิดความรักในธรรมชาติ รักชุมชน ได้เรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ กระบวนการทางความคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป




4.การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย


การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย



การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย

          การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลสัมผัสสิ่งเร้า แล้วใช้ประสบการณ์หรือความรู้เดิม แปลความหมายของสิ่งเร้าที่สัมผัส ด้วยความใส่ใจ ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จึงต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 
ประการ คือ
1)      สิ่งเร้าที่จะรับรู้
2)      อวัยวะสัมผัสหรือความรู้สึกสัมผัส
3)      ประสบการณ์หรือความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส
4)      ความใส่ใจหรือความตั้งใจที่จะรับรู้

อย่างไรก็ตาม การรับรู้เนื้อหาสาระต่างๆ จากสื่อของเด็กปฐมวัยนั้น เนื่องจากประสบการณ์และความพร้อมของอวัยวะสัมผัสที่จะรับรู้ของเด็กยังอยู่ในขอบเขตจำกัด ดังนั้น การเลือกสิ่งเร้าที่จะเป็นสื่อเพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ หรือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะต้องเลือกให้เหมาะกับความสามารถในการรับรู้ และให้เหมาะกับประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่เด็กมีอยู่

การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย แบ่งตามประสาทสัมผัสการรับรู้ ดังนี้
1.      การรับรู้ด้วยสื่อทางตาของเด็กปฐมวัย
2.      การรับรู้ด้วยสื่อทางหูของเด็กปฐมวัย
3.      การรับรู้ด้วยสื่อทางการสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
4.      การรับรู้ด้วยสื่อทางจมูกของเด็กปฐมวัย
5.      การรับรู้ด้วยสื่อทางลิ้นของเด็กปฐมวัย


3.บทบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน


บทบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน




   ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา และถือว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาในทุกภาคส่วนของประเทศ กอร์ปกับความพยายามในการที่จะพัฒนาสังคมให้ก้าวสู่สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ปีพุทธศักราช 2544 จึงได้มีการประกาศใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐานตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ วก 116 /2544 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544
          การประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการของหน่วยงานในกระทรวง ศึกษาธิการเปลี่ยนแปลงไป และแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2545-2559 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ของการจัดการศึกษาของไทย ตามแนวปฏิรูปการศึกษาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ผนวกกับนโยบายด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาล
          แนวทางเพื่อการปฏิบัติต่างๆ ในการจัดการศึกษาของชาติระดับ และการเปลี่ยนแปลงในสังคมอันเป็นผลมาจากพัฒนาการของยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผล ให้การสืบหาค้นคว้าแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ทางศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาการของการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้พัฒนาได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งใหม่ๆ ของวิทยาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น
          กอร์ปกับการใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการผลิตและพัฒนา การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอารยประเทศ การพัฒนาการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาปัจเจกบุคคล และการใช้สื่อการสอนจึงถือเป็นหัวใจของการเรียนการสอน หรือสร้างและใช้สื่อการสอนได้อย่างเหมาะสม เพียงไรกับเนื้อหาที่สอนขึ้นอยู่กับผู้สอนสามารถวางแผนในเรื่องการจัดการ เรียนการสอนได้ระบบดีเพียงใด เช่น การวิเคราะห์และกำหนดขอบข่ายเนื้อหาสาระ การวิเคราะห์คุณสมบัติและความพร้อมของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อจำกัดต่างๆ ของสภาพการเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน และสื่อที่เป็นกระบวนการ หรือวิธีการ
          ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดการเรียนการสอนของครู สื่อการสอนก็คือ อุปกรณ์ทางการศึกษาที่นำมาใช้กับการสอนนั่นเอง สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบของระบบการสอน พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พะ.ศ.2542 อธิบายว่า สื่อการสอน หมายถึง วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา ที่จะทำให้บทเรียนที่ยากและซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่ายต่อความเข้าใจ ก็อาศัยสื่อการสอน เพราะฉะนั้นการใช้สื่อการสอนประกอบจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ครูผู้สอนจะต้องรู้จักและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
          พระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง ระบบกรนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการศึกษาแก่ผู้เรียน ดังนั้น จำแนกประเภทของสื่อการศึกษา ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          1. ประเภทวัตถุ (Materiate) ได้แก่ สิ่งที่เป็นสิ่งของทั้งหลาย ทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์
          2. ประเภทอุปกรณ์ (Eguipment) วีดิทัศน์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์
          3. ประเภทวิธีการ (Methods) เป็นสื่อประเภทกระบวนการ และการกระทำ เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบต่างๆ การสาธิต การทดลอง การจัดนิทรรศการ


          สื่อ การศึกษา หรือสื่อการเรียนการสอนปัจจุบัน ทั้งที่เป็นสื่อประเภทวิธีการ หรือกระบวนการและสื่อที่เป็นวัสดุสิ่งของและเครื่องมือ อาจจำแนกให้เห็นประเภทตามคุณสมบัติ ความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้สื่อให้สนองจุดมุ่งหมายตัวครูผู้สอนจำเป็นจะต้อง พิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน วิธีการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ถือตัวครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้คุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนรู้ไม่พัฒนาเท่าที่ควร กอร์ปกับปัจจุบันการพัฒนาทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีได้เจริญขึ้นอย่างรวด เร็ว สภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาจึงจำเป็นต้องขยายขอบเขต ทำให้จุดประสงค์ของการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป แนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการสอนเกิดขึ้นมากมาย
          แต่สิ่งสำคัญที่ผู้สอนและผู้เรียนให้การยอมรับนั้นคือ กระบวนการในการเรียนการสอนและบทบาทของสื่อการเรียนการสอน ผนวกกับการวางแผนการเรียนการสอนทุกคนควรจะต้องกระทำก่อนลงมือสอนและในขั้น ตอนการวางแผนการสอนจะทำให้ครูทราบได้ว่า สื่อการเรียนการสอนประเภทใดที่สมควรนำมาประกอบบทเรียนให้เกิดคุณค่าและมี ประสิทธิภาพ ควรใช้เมื่อไร ตอนไหน ควบคู่ก่อนหรือหลัง เพื่อให้เป็นไปตามแผนการเรียนการสอนที่ผู้สอนได้กำหนดไว้

          ปัญหาในการใช้สื่อการสอนของครูผู้สอน บุญเหลือ ทองเอี่ยม และสุวรรณ นาภู กล่าวว่า อาจมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ คือ

          1. เกี่ยวกับทางโรงเรียน

          * โรงเรียนไม่มีงบประมาณสำหรับซื้ออุปกรณ์การสอน
          * อุปกรณ์ที่โรงเรียนมีอยู่ ไม่ตรงกับบทเรียน
          * อุปกรณ์ที่ทางโรงเรียนมีอยู่ล้าสมัย หรือชำรุด
          * สภาพห้องเรียนและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์บางประเภท เช่น ห้องมีแสงสว่างมากเกินไป ไม่เหมาะสมกับเครื่องฉายบางประเภท

          2. เกี่ยวกับผู้สอน
          * ผู้สอนไม่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านโสตทัศนศึกษา
          * ผู้สอนขาดทักษะในการใช้เครื่องมือบางประเภท
          * ผู้สอนเกรงว่าเมื่อใช้อุปกรณ์การสอนแล้ว จำทำให้เสียเวลาและสอนไม่ทันตามหลักสูตร
          * ผู้สอนไม่เห็นความสำคัญของอุปกรณ์ และคิดว่าตนเองสามารถสอนได้โดยไม่มีอุปกรณ์
          * ผู้สอนไม่ยอมอุทิศเวลาในการทำอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์
          * ผู้สอนคิดว่าเมื่อใช้อุปกรณ์แล้วระเบียบของห้องจะเสียไป
          * ผู้สอนไม่อยากใช้อุปกรณ์การสอน เพราะราคมแพง กลัวว่าจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดการชำรุด หรือเสียหาย

          3. เกี่ยวกับผู้บริหารโรงเรียน

          ผู้บังคับบัญชาไม่ส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์การสอนมากเท่าที่ควร และบางแห่งก็ขาดกำลังคน ที่จะทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ
          จากที่กล่าวมา แล้วทั้งหมดในเรื่องบาบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน สรุปได้ว่า สื่อการสอนทั้งหลายเป็นเครื่องอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ทำให้บทเรียนน่าสนใจ นักเรียนเกิดความสนุกสนานในบทเรียน และยังช่วยทุ่นเวลาในการสอนอีกด้วย
          ดังนั้นผู้สอนจะต้องหมั่นตรวจสอบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ เช่น ประเภทหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพของครูผู้สอน ส่วนการจะพัฒนาไปจนถึงระดับโตนั้น ขึ้นอยู่กับความใส่ใจและความรับผิดชอบ สื่อการเรียนการสอนบางอย่างอาจต้องปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อย หรือบางประเภทอาจถึงขั้นทำขึ้นใหม่ทั้งหมดก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเท่านั้นที่จะเข้าใจได้ดีที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่าบทบาทและเทคนิคของครูผู้สอน กอร์ปกับการเลือกใช้สื่อและพัฒนาสื่อการสอนให้เหมาะสมกับบทเรียนในแต่ละ เนื้อหาสาระวิชา ย่อมส่งผลต่อผู้เรียนได้ทางหนึ่ง ผลผลิตที่ได้รับคือ ความภาคภูมิใจของผู้สอนนั้นเอง


ที่มาจาก : vcharkarn.com

แหล่งอ้างอิง http://prthai.com/articledetail.asp?kid=7692



2.บทความสื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?


สื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?

สื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?


                   



         โดยทั่วไปแล้ว เด็กปฐมวัย มักได้รับแรงดึงดูดจากรายการโทรทัศน์ที่สอดแทรกภาพสีสดใส ตัวละครที่เคลื่อนไหว เคลื่อนอิริยาบถไปมา รวมถึงเสียงเพลงหรือดนตรีประกอบที่ร่าความสดใจ สื่อของเล่นจึงมักได้รับอิทธิผลจากรายการโทรทัศน์ที่มีการดัดแปลงเอาตัวการ์ตูนดังๆมาเป็นสื่อของเล่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความทันสมัย แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงการสร้างสรรค์จินตนาการโดยเหมาะสมแก่เด็ก หรือมีการกำหนดสาระเนื้อหาของสื่อ ที่เป็นเกมต่างๆ โดยสอดแทรก ความรุนแรง การต่อสู้ ซึ่งอาจบ่มฟัก ความก้าวร้าวหรือแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กได้
เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจแก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในลักษณะและประเภทของสื่อ และเครื่องเล่นที่มีคุณภาพเหมาะสมของเด็กปฐมวัย ที่จัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
  • สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ บล็อก รถ เครื่องบิน เครื่องปีนป่าย จักรยาน รถสามล้อเล็ก และอุป กรณ์งานไม้
  • สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ดินน้ำมัน อุปกรณ์วาดรูป ระบายสีน้ำ เช่นพิมพ์ภาพ หยดสี สลัดสี เป่าสี เล่นกับสีเมจิก สีชอล์ค ร้อยเชือก ตัวต่อเลโก้ บล็อกชุดเล็ก เกมต่อภาพ
  • สื่อและเครื่องเล่นพัฒนาภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือนิทาน กระดาษและเครื่องเขียน กระดานไว้ท์บอร์ด แป้นพิมพ์ กระบะทราย หุ่นและตุ๊กตา
  • สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ อุปกรณ์เล่นน้ำ อุปกรณ์เล่นทราย อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ตวง วัด จุดบีบหยดยา กรงสัตว์ ตู้ปลา วัสดุธรรมชาติ เช่นใบไม้ รังนก ขนนก เปลือกไม้
  • สื่อและเครื่องเล่นสมัยใหม่ ผลผลิตของเทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่คืบคลานเข้ามาสู่สัง คมมนุษย์อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสร้างความสะดวกสบาย และกลาย เป็นปัจจัยหลักของการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน สร้างความบันเทิงแก่สมาชิกครอบครัว และช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีความท้าทายยิ่งขึ้น พ่อแม่ และครูผู้สอน จึงต้องเรียนรู้ร่วมไปกับยุคสมัยและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น หันมาให้ความสำคัญและเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสมัยใหม่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น เปลี่ยนจากการใช้สั่งพิมพ์เป็นสื่อเป็น e-book ซีดี และซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เพราะสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กในโลกปัจจุบัน








1.บทความเทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


1.เทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
          




          เทคนิคการใช้สื่อการสอนเป็นกลวิธีในการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อการสอนเป็นตัวกลางนำความรู้จากครูไปสู่เด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่อของจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสคือ การมอง การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมรส สื่อเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
          เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น จากการฟังคนพูดและขณะทำกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาได้ยินและแสดงออกด้วยความตั้งใจในสิ่งที่เขาทำได้ อายุ 3 – 4 ปี สามารถเรียนรู้ความซับซ้อนของประโยคได้ เรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่เขาได้ยิน สามารถสร้างประโยคขึ้นใหม่ในการสื่อสารมากกว่าการเรียนแบบ มีคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดมากกว่า 1000 คำ เรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า ตุ๊กตา ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ การเรียนรู้จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมมาก่อน ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของของการแสดงความคิด
          การฝึกทักษาทางภาษาประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ของเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมายโดยใช้ภาษาในสถานการณ์จริง

เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็ก 

      ถ้าต้องการให้เด็กเป็นผู้ฟัง ครูหรือผู้ปกครองควรฟังเด็กพูด เมื่อเด็กเล่าประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็นจบ ครูควรกล่าวชม เช่น ความคิดของหนูดีมาก แหมเล่าเรื่องได้ดีจริง การเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้เด็กมีกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจและอยากที่จะเสนอความคิดของตนอีกในชั้นเรียนปฐมวัยมีหลายกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้รู้จักฟังเช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเล่านิทาน นอกจากนี้ยังเป็นการฟังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็กมีดังนี้

  1. โคลงกลอน ร้อยแก้ว
  2. เพลง เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงตามสมัยนิยม
  3. เสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงจากในครัว จากสนามเด็กเล่น นาฬิกา โทรศัพท์และจากยานพาหนะ เป็นต้น
  4. เสียงการใช้วัตถุโยนลงพื้นแข็งๆ หรือพื้นที่นุ่มๆ วัตถุที่ใช้โยนอาจเป็นหมอน บล็อก ก้อนหิน ผ้าพันคอ ตะปู โยนถุงที่บรรจุของ ต่อไปให้เด็กหลับตาทายว่าครูโยนอะไร
  5. ฟังจังหวะ เช่น เสียงเครื่องดนตรีเคาะจังหวะเร็วช้า เสียงการเต้นของหัวใจเพื่อน เสียงนาฬิกา
  6. ฟังเสียงจากขวดบรรจุน้ำ
  7. ฟังคำสั่ง ถ้าอายุประมาณ 3 ขวบควรเป็นคำสั่งสั้นๆ อายุมากขึ้นควรฝึกฟังเป็นประโยค หรือ ฟังคำสั่งซ้อนกัน2-3คำสั่ง
  8. ฟังคำถาม
  9. ฟังโดยมีกติกาจากการเล่นเกม
  10. ทายเสียงจากการฟังเครื่องบันทึกเสียง
  11. ฟังนิทาน เช่นนิทานที่มีคำซ้ำ ฟังจนจบเรื่องแล้วจับใจความ เป็นต้น การอ่านหนังสือหรือนิทานให้เด็กฟัง สามารถใช้เป็นวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ถ้าหนังสือนั้นให้ข้อมูลที่เป็นจริงและมีภาพประกอบที่น่าสนใจจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นได้แต่ครูต้องมั่นใจว่าเด็กเข้าใจคำศัพท์และความหมายในเรื่องนั้นๆ