Happy Cute Box Bear

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3.บทบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน


บทบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน




   ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา และถือว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาในทุกภาคส่วนของประเทศ กอร์ปกับความพยายามในการที่จะพัฒนาสังคมให้ก้าวสู่สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ปีพุทธศักราช 2544 จึงได้มีการประกาศใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐานตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ วก 116 /2544 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544
          การประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการของหน่วยงานในกระทรวง ศึกษาธิการเปลี่ยนแปลงไป และแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2545-2559 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ของการจัดการศึกษาของไทย ตามแนวปฏิรูปการศึกษาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ผนวกกับนโยบายด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาล
          แนวทางเพื่อการปฏิบัติต่างๆ ในการจัดการศึกษาของชาติระดับ และการเปลี่ยนแปลงในสังคมอันเป็นผลมาจากพัฒนาการของยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผล ให้การสืบหาค้นคว้าแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ทางศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาการของการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้พัฒนาได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งใหม่ๆ ของวิทยาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น
          กอร์ปกับการใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการผลิตและพัฒนา การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอารยประเทศ การพัฒนาการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาปัจเจกบุคคล และการใช้สื่อการสอนจึงถือเป็นหัวใจของการเรียนการสอน หรือสร้างและใช้สื่อการสอนได้อย่างเหมาะสม เพียงไรกับเนื้อหาที่สอนขึ้นอยู่กับผู้สอนสามารถวางแผนในเรื่องการจัดการ เรียนการสอนได้ระบบดีเพียงใด เช่น การวิเคราะห์และกำหนดขอบข่ายเนื้อหาสาระ การวิเคราะห์คุณสมบัติและความพร้อมของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อจำกัดต่างๆ ของสภาพการเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน และสื่อที่เป็นกระบวนการ หรือวิธีการ
          ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดการเรียนการสอนของครู สื่อการสอนก็คือ อุปกรณ์ทางการศึกษาที่นำมาใช้กับการสอนนั่นเอง สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบของระบบการสอน พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พะ.ศ.2542 อธิบายว่า สื่อการสอน หมายถึง วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา ที่จะทำให้บทเรียนที่ยากและซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่ายต่อความเข้าใจ ก็อาศัยสื่อการสอน เพราะฉะนั้นการใช้สื่อการสอนประกอบจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ครูผู้สอนจะต้องรู้จักและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
          พระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง ระบบกรนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการศึกษาแก่ผู้เรียน ดังนั้น จำแนกประเภทของสื่อการศึกษา ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          1. ประเภทวัตถุ (Materiate) ได้แก่ สิ่งที่เป็นสิ่งของทั้งหลาย ทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์
          2. ประเภทอุปกรณ์ (Eguipment) วีดิทัศน์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์
          3. ประเภทวิธีการ (Methods) เป็นสื่อประเภทกระบวนการ และการกระทำ เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบต่างๆ การสาธิต การทดลอง การจัดนิทรรศการ


          สื่อ การศึกษา หรือสื่อการเรียนการสอนปัจจุบัน ทั้งที่เป็นสื่อประเภทวิธีการ หรือกระบวนการและสื่อที่เป็นวัสดุสิ่งของและเครื่องมือ อาจจำแนกให้เห็นประเภทตามคุณสมบัติ ความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้สื่อให้สนองจุดมุ่งหมายตัวครูผู้สอนจำเป็นจะต้อง พิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน วิธีการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ถือตัวครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้คุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนรู้ไม่พัฒนาเท่าที่ควร กอร์ปกับปัจจุบันการพัฒนาทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีได้เจริญขึ้นอย่างรวด เร็ว สภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาจึงจำเป็นต้องขยายขอบเขต ทำให้จุดประสงค์ของการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป แนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการสอนเกิดขึ้นมากมาย
          แต่สิ่งสำคัญที่ผู้สอนและผู้เรียนให้การยอมรับนั้นคือ กระบวนการในการเรียนการสอนและบทบาทของสื่อการเรียนการสอน ผนวกกับการวางแผนการเรียนการสอนทุกคนควรจะต้องกระทำก่อนลงมือสอนและในขั้น ตอนการวางแผนการสอนจะทำให้ครูทราบได้ว่า สื่อการเรียนการสอนประเภทใดที่สมควรนำมาประกอบบทเรียนให้เกิดคุณค่าและมี ประสิทธิภาพ ควรใช้เมื่อไร ตอนไหน ควบคู่ก่อนหรือหลัง เพื่อให้เป็นไปตามแผนการเรียนการสอนที่ผู้สอนได้กำหนดไว้

          ปัญหาในการใช้สื่อการสอนของครูผู้สอน บุญเหลือ ทองเอี่ยม และสุวรรณ นาภู กล่าวว่า อาจมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ คือ

          1. เกี่ยวกับทางโรงเรียน

          * โรงเรียนไม่มีงบประมาณสำหรับซื้ออุปกรณ์การสอน
          * อุปกรณ์ที่โรงเรียนมีอยู่ ไม่ตรงกับบทเรียน
          * อุปกรณ์ที่ทางโรงเรียนมีอยู่ล้าสมัย หรือชำรุด
          * สภาพห้องเรียนและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์บางประเภท เช่น ห้องมีแสงสว่างมากเกินไป ไม่เหมาะสมกับเครื่องฉายบางประเภท

          2. เกี่ยวกับผู้สอน
          * ผู้สอนไม่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านโสตทัศนศึกษา
          * ผู้สอนขาดทักษะในการใช้เครื่องมือบางประเภท
          * ผู้สอนเกรงว่าเมื่อใช้อุปกรณ์การสอนแล้ว จำทำให้เสียเวลาและสอนไม่ทันตามหลักสูตร
          * ผู้สอนไม่เห็นความสำคัญของอุปกรณ์ และคิดว่าตนเองสามารถสอนได้โดยไม่มีอุปกรณ์
          * ผู้สอนไม่ยอมอุทิศเวลาในการทำอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์
          * ผู้สอนคิดว่าเมื่อใช้อุปกรณ์แล้วระเบียบของห้องจะเสียไป
          * ผู้สอนไม่อยากใช้อุปกรณ์การสอน เพราะราคมแพง กลัวว่าจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดการชำรุด หรือเสียหาย

          3. เกี่ยวกับผู้บริหารโรงเรียน

          ผู้บังคับบัญชาไม่ส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์การสอนมากเท่าที่ควร และบางแห่งก็ขาดกำลังคน ที่จะทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ
          จากที่กล่าวมา แล้วทั้งหมดในเรื่องบาบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน สรุปได้ว่า สื่อการสอนทั้งหลายเป็นเครื่องอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ทำให้บทเรียนน่าสนใจ นักเรียนเกิดความสนุกสนานในบทเรียน และยังช่วยทุ่นเวลาในการสอนอีกด้วย
          ดังนั้นผู้สอนจะต้องหมั่นตรวจสอบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ เช่น ประเภทหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพของครูผู้สอน ส่วนการจะพัฒนาไปจนถึงระดับโตนั้น ขึ้นอยู่กับความใส่ใจและความรับผิดชอบ สื่อการเรียนการสอนบางอย่างอาจต้องปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อย หรือบางประเภทอาจถึงขั้นทำขึ้นใหม่ทั้งหมดก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเท่านั้นที่จะเข้าใจได้ดีที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่าบทบาทและเทคนิคของครูผู้สอน กอร์ปกับการเลือกใช้สื่อและพัฒนาสื่อการสอนให้เหมาะสมกับบทเรียนในแต่ละ เนื้อหาสาระวิชา ย่อมส่งผลต่อผู้เรียนได้ทางหนึ่ง ผลผลิตที่ได้รับคือ ความภาคภูมิใจของผู้สอนนั้นเอง


ที่มาจาก : vcharkarn.com

แหล่งอ้างอิง http://prthai.com/articledetail.asp?kid=7692



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น