การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย
การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย
การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลสัมผัสสิ่งเร้า แล้วใช้ประสบการณ์หรือความรู้เดิม แปลความหมายของสิ่งเร้าที่สัมผัส ด้วยความใส่ใจ ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จึงต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1) สิ่งเร้าที่จะรับรู้
2) อวัยวะสัมผัสหรือความรู้สึกสัมผัส
3) ประสบการณ์หรือความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส
4) ความใส่ใจหรือความตั้งใจที่จะรับรู้
อย่างไรก็ตาม การรับรู้เนื้อหาสาระต่างๆ จากสื่อของเด็กปฐมวัยนั้น เนื่องจากประสบการณ์และความพร้อมของอวัยวะสัมผัสที่จะรับรู้ของเด็กยังอยู่ในขอบเขตจำกัด ดังนั้น การเลือกสิ่งเร้าที่จะเป็นสื่อเพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ หรือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะต้องเลือกให้เหมาะกับความสามารถในการรับรู้ และให้เหมาะกับประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่เด็กมีอยู่
การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย แบ่งตามประสาทสัมผัสการรับรู้ ดังนี้
1. การรับรู้ด้วยสื่อทางตาของเด็กปฐมวัย
2. การรับรู้ด้วยสื่อทางหูของเด็กปฐมวัย
3. การรับรู้ด้วยสื่อทางการสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
4. การรับรู้ด้วยสื่อทางจมูกของเด็กปฐมวัย
5. การรับรู้ด้วยสื่อทางลิ้นของเด็กปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น