Happy Cute Box Bear

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

1.บทความเทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


1.เทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
          




          เทคนิคการใช้สื่อการสอนเป็นกลวิธีในการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อการสอนเป็นตัวกลางนำความรู้จากครูไปสู่เด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่อของจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสคือ การมอง การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมรส สื่อเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
          เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น จากการฟังคนพูดและขณะทำกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาได้ยินและแสดงออกด้วยความตั้งใจในสิ่งที่เขาทำได้ อายุ 3 – 4 ปี สามารถเรียนรู้ความซับซ้อนของประโยคได้ เรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่เขาได้ยิน สามารถสร้างประโยคขึ้นใหม่ในการสื่อสารมากกว่าการเรียนแบบ มีคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดมากกว่า 1000 คำ เรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า ตุ๊กตา ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ การเรียนรู้จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมมาก่อน ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของของการแสดงความคิด
          การฝึกทักษาทางภาษาประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ของเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมายโดยใช้ภาษาในสถานการณ์จริง

เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็ก 

      ถ้าต้องการให้เด็กเป็นผู้ฟัง ครูหรือผู้ปกครองควรฟังเด็กพูด เมื่อเด็กเล่าประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็นจบ ครูควรกล่าวชม เช่น ความคิดของหนูดีมาก แหมเล่าเรื่องได้ดีจริง การเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้เด็กมีกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจและอยากที่จะเสนอความคิดของตนอีกในชั้นเรียนปฐมวัยมีหลายกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้รู้จักฟังเช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเล่านิทาน นอกจากนี้ยังเป็นการฟังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็กมีดังนี้

  1. โคลงกลอน ร้อยแก้ว
  2. เพลง เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงตามสมัยนิยม
  3. เสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงจากในครัว จากสนามเด็กเล่น นาฬิกา โทรศัพท์และจากยานพาหนะ เป็นต้น
  4. เสียงการใช้วัตถุโยนลงพื้นแข็งๆ หรือพื้นที่นุ่มๆ วัตถุที่ใช้โยนอาจเป็นหมอน บล็อก ก้อนหิน ผ้าพันคอ ตะปู โยนถุงที่บรรจุของ ต่อไปให้เด็กหลับตาทายว่าครูโยนอะไร
  5. ฟังจังหวะ เช่น เสียงเครื่องดนตรีเคาะจังหวะเร็วช้า เสียงการเต้นของหัวใจเพื่อน เสียงนาฬิกา
  6. ฟังเสียงจากขวดบรรจุน้ำ
  7. ฟังคำสั่ง ถ้าอายุประมาณ 3 ขวบควรเป็นคำสั่งสั้นๆ อายุมากขึ้นควรฝึกฟังเป็นประโยค หรือ ฟังคำสั่งซ้อนกัน2-3คำสั่ง
  8. ฟังคำถาม
  9. ฟังโดยมีกติกาจากการเล่นเกม
  10. ทายเสียงจากการฟังเครื่องบันทึกเสียง
  11. ฟังนิทาน เช่นนิทานที่มีคำซ้ำ ฟังจนจบเรื่องแล้วจับใจความ เป็นต้น การอ่านหนังสือหรือนิทานให้เด็กฟัง สามารถใช้เป็นวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ถ้าหนังสือนั้นให้ข้อมูลที่เป็นจริงและมีภาพประกอบที่น่าสนใจจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นได้แต่ครูต้องมั่นใจว่าเด็กเข้าใจคำศัพท์และความหมายในเรื่องนั้นๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น